รพ.สัตว์โอะไดจินิ | เปิด 24 ชั่วโมง

ภาวะตาแห้ง (DRY EYE : Keratoconjunctivitis sicca)


ภาวะเยื่อตาขาวอักเสบจากภาวะตาแห้ง

        ในภาวะปกติ น้ำตาจะทำหน้าที่หล่อลื่นกระจกตา  นำสารอาหารและอ๊อกซิเจนมาเลี้ยงและแลกของเสียออก  หากเกิดความผิดปกติขึ้น จะทำให้เกิดความเสียหายต่อกระจกตาได้คะ

สาเหตุ : 

  • มักเกิดจากการที่ต่อมน้ำตามีการผลิตน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ โดยอาจเกิดจาก
  • ความผิดปกติโดยกำเนิดของต่อมน้ำตา
  • การเกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
  • ภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของต่อมน้ำตาตามอายุ
  • ภาวะที่ต่อมผลิตน้ำตามีการอักเสบเรื้อรัง
  • ภาวะที่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทที่มาควบคุมการทำงานของต่อมน้ำตา
  • ภาวะการติดเชื้อของกระจกตา เช่น โรคไข้หัดจากเชื้อไวรัส
  • อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางตัว
  • หรือภาวะที่พบได้หลังจากการผ่าตัดหนังตาที่สามออก

        สามารถพบได้ทุกพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่สามารถพบได้บ่อย คือ Cocker Spaniels, Shih Tzus, Lhasa Apsos, Bulldogs, Schnauzers, และ Terriers

อาการที่มักพบได้ : 

        ขี้ตาเยอะ เกรอะกรัง ตาแดง กระจกตาขุ่นขึ้น มีเม็ดสีหรือแผลเป็นที่กระจกตา หรืออาจมีความรุนแรงจนทำให้ตาบอดได้

ชนิดของภาวะตาแห้ง :

  1. ปัญหาที่เกิดจากน้ำตา ที่ผลิตน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งมักพบว่าเป็นปัญหาที่เกิดต่อมน้ำตา โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของร่างกายมีผลต่อต่อมน้ำตา
  2. ปัญหาจากคุณภาพของน้ำตาที่ลดลง
  3. ปัญหาจากการกระจายตัวของน้ำตา ซึ่งมักพบปัญหาในสุนัขพันธุ์หน้าสั้นที่มักจะมีปัญหาจากการเปิดกว้างของหนังตาที่มากเกินไป

การตรวจ :

  1. ตรวจจากอาการ ตรวจการตรวจการตอบสนองของระบบประสาทของตา ร่วมกับการวัดน้ำตาด้วยแผ่นตรวจวัดน้ำตา Shirmer Tear Test : STT ในสุนัขปกติน้ำตาที่วัดได้ใน 1 นาทีจะไม่น้อยกว่า 15 mm. ส่วนในแมวจะไม่น้อยกว่า 10-15 mm.

    Picture 1-2 : แสดงการวัดน้ำตา Schirmer Tear Test (STT)
  2. ใช้ สีย้อม (Fluorescein) เพื่อเป็นการตรวจเพื่อประเมินคุณภาพของน้ำตา


    Picture 3 : ภาพแสดงการย้อมสี Fluorescein เพื่อดูแผลที่กระจกตา

    Picture 4 : ภาพแสดงแผลที่กระจกตาจะติดสี Fluorescein เป็นสีเขียว

การรักษา :

  • หาสาเหตุที่แท้จริงและทำการแก้ไขหากเป็นสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้
  • ใช้น้ำตาเทียม ยาคุมการติดเชื้อ และอาจร่วมกับยากระตุ้นการผลิตน้ำตา โดยการตอบสนองจะไม่เท่ากันจะขึ้นกับการตอบสนองของน้องหมาเองด้วย โดยในน้องหมาบางตัวอาจต้องทำการหยอดยากระตุ้นไปตลอดชีวิต
  • ในบางรายที่การให้ยาในการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดแก้ไข


Picture 5-7 : แสดงลักษณะภายนอกของตาที่เป็น Dry Eye ก่อนรักษา


Picture 8-9 : ภาพแสดงตาของสุนัขหลังจากรักษา ตาขาวบริเวณหัวตา เม็ดสีลดลงอย่างชัดเจน และแสงไฟตรวจตาเริ่มส่องผ่านได้มากขึ้น บ่งบอกถึงปริมาณเม็ดสีที่ลดลง


Written by Webmaster
Published on 2 November 2012
ผศ.น.สพ.ภาสกร  พฤกษะวัน
ผศ.น.สพ.ภาสกร พฤกษะวัน
คลินิกโรคตา, ศัลกรรมตา, ศัลยกรรมเนื้อเยื่อ
ผู้สนับสนุนบทความ
• ด้านล่างเป็นเพียงส่วนของการคอมเม้นบทความเท่านั้น หากท่านต้องการสอบถามปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง กรุณาเข้าไปที่ http://www.facebook.com/odaijinipet และส่งข้อความเข้าสอบถามใน Inbox ท่านจะได้การตอบกลับโดยเร็วที่สุด และหากเป็นเรื่องเร่งด่วนอยากได้คำตอบโดยเร็วโทรสอบถามได้ที่ 02-9485099 ขอบคุณค่ะ :)